วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

จัดทำโดย



เกรียงไกร ใจพรหม 3/3 เลขที่3

อนณ สุขหร่อง 3/3 เลขที่ 42

วีระชัย เข้มแข็ง 3/3 เลขที่ 35

อ้างอิง








ประวัติ ปลาทอง

ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบันโดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมากปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วันปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง, สีทอง, สีส้ม, สีเทา, สีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน,ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด

สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป


สายพันธุ์ปลาทอง

มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น เป็นต้น

2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ออรันดา, เกล็ดแก้ว, รักเร่, แพนด้า, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น



การเลี้ยงตามความเชื่อ

นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงปลาทองยังอยู่ในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วยว่าก่อให้เกิดโชคลาภ โดยว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยว่ากันด้วยเรื่องจำนวนของปลาที่เลี้ยง, สีของปลา และตำแหน่งการวางตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงด้วย ซึ่งแตกต่างออกไปตามลักษณะของบ้านและเจ้าของ

การเพาะเลี้ยงปลาทอง

ปลาทองหรือปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญว่า Goldfish   เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงมานานแล้ว จัดเป็นปลาที่ติดตลาด คือเป็นปลาที่มีจำหน่ายในร้านขายปลาสวยงามทุกร้านและสามารถขายได้ราคาดีตลอดปี โดยทั่วไปจัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติว่า Chi Yu และเรียกปลาทองที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านว่า Chin Chi Yu ในประเทศญี่ปุ่น ปลาทองได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก และมีการพัฒนาวิธีการเพาะพันธุ์มีการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นต่างๆมาผสมพันธุ์กัน ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะสวยงามขึ้นมาหลายชนิด และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ


ลักษณะรูปร่างของปลาทอง

ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในธรรมชาตินั้น มีรูปร่างคล้ายปลาไนแต่มีขนาดเล็กกว่าปลาไนมาก คือ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม ส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว หรือสีขาว เนื่องจากมีการนำปลาทองไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ประกอบกับเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาในกลุ่มเดียวกันชนิดอื่นๆได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆออกมาหลายชนิด มีลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ 

  • ครีบหาง เปลี่ยนแปลงจากหางแฉก หรือหางเดี่ยว เป็น หางพวง หรือหางคู่
  • ครีบก้น  เปลี่ยนแปลงจากครีบเดี่ยว เป็น ครีบคู่
  • ครีบหลัง บางชนิดจะไม่มีครีบหลัง
  • ส่วนหัว บางชนิดจะมีลักษณะที่พองออกเป็นวุ้น
  • ตา  บางชนิดมีกระบอกตาที่โป่งพองออก

ปลาทองที่มีหางคู่

ปลาทองที่มีหางคู่   คือมีส่วนหางแยกออกเป็น  3 - 4  แฉก   มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ   หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง   มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์  ดังนี้

พันธุ์ออแรนดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดา   หรือฮอลันดาหัวแดง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว   มีครีบครบทุกครีบ   หางยาว   และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์   แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์   สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม   เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่   และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง   สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน    ชาวญี่ปุ่นเรียก   Oranda Shishigashira


ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง

              จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์   มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ  แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ   ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน   และมีการตั้งชื่อพันธุ์ต่างๆไว้ดังนี้
ปลาทองที่มีหางเดี่ยว   อาจเรียกหางปลาทู  หรือหางแฉก (Fork  Tail)   ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง   เว้าตรงกลางหรือเป็น  2  แฉก   มีสายพันธุ์ที่นิยม  2  สายพันธุ์   คือ

พันธุ์โคเมท (Comet)   เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม   หรือต้นตระกูลของปลาทอง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน   ลำตัวมักมีสีแดง   สีแดงสลับขาว   หรือสีทอง   ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม


พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin)    
ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท   แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี   เช่น  สีแดง สีขาว  สีม่วง  สีส้ม  และสีดำ   เกล็ดจะค่อนข้างใส   จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง   เนื่องจากมีสีเด่นหลายสี   สดใส   ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ  เช่น   Speckled Goldfish ,  Harlequin  Goldfish,  Vermilion  Goldfish  หรือ  Coronation  fish 



การจำแนกเพศปลาทอง

การศึกษาความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองทำได้ไม่ยากนัก ผู้เลี้ยงปลาโดยทั่วไปจะสามารถแยกเพศปลาทองได้ ผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาทอง หากเข้าใจวิธีการแยกเพศปลาทองเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้เลือกซื้อหรือจัดเตรียมปลาทองเพศผู้และเพศเมียตามจำนวนที่ต้องการได้

                ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองนั้น ถ้าจะดูจากลักษณะภายนอกของลำตัวแล้วจะไม่พบความแตกต่างกัน   การแยกเพศจะทำได้ก็ต่อเมื่อปลาสมบูรณ์เพศ คือ เป็นปลาโตเต็มวัยแล้ว ซึ่งต้องเลี้ยงไว้ประมาณ 6 - 8 เดือน   เมื่อปลาสมบูรณ์เพศแล้วปลาเพศผู้จะเกิด ตุ่มสิว (Pearl Organ หรือ Nuptial Tubercles) ซึ่งเป็นตุ่มหรือจุดเล็กๆสีขาว เกิดขึ้นบริเวณก้านครีบอันแรกของครีบอก และบริเวณกระพุ้งแก้ม  ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะพอเห็นได้และมักจะเกิดเด่นชัดเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทอง แต่ในช่วงนอกฤดูกาลผสมพันธุ์  เช่นในฤดูหนาว หรือปลาไม่มีความพร้อมทางเพศ   ตุ่มสิวนี้จะมีขนาดเล็กสังเกตุได้ยาก แต่ก็สามารถแยกเพศได้โดยการใช้มือลูบเบาๆที่ครีบอกถ้าเป็นปลาทองเพศผู้จะรู้สึกสากมือเนื่องจากมีตุ่มสิวดังกล่าว แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะรู้สึกว่าครีบอกนั้นจะลื่นนอกจากนั้นถ้าปลามีความพร้อมในการผลมพันธุ์ คือปลาเพศเมียมีไข่แก่ และปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อสมบูรณ์ ถ้าจับที่บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม และที่ช่องเพศจะขยายตัวนูนสูงขึ้น ส่วนปลาเพศผู้ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องลงไปทางช่องเพศ จะเห็นว่ามีน้ำเชื้อซึ่งเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาเล็กน้อยได้